ยินดีต้อนรับสู่ แพสนามชัย บางไทร อยุธยา
แพสนามชัย บางไทร อยุธยา สถานที่พักผ่อนริมน้ำใกล้กรุง ตกปลา พายเรือ เล่นน้ำ สัมผัสชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำ เรามีแพที่พักไว้บริการ มีที่นอน หมอน ผ้าห่ม มุ้งพร้อม สามารถกางเต้นท์ได้ สามารถทำอาหารได้ มีเครื่องครัวให้พร้อม มีเครื่องดื่มจำหน่าย มีอาหารตามสั่ง และมีหมูกระทะ อร่อย ๆ มาส่งให้ถึงแพ ติดต่อ 099-1505391 fishing thailand ^_^

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้แพ

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้แพ
099-1505391





เจดีย์วัดสนามชัย




เจดีย์วัดสนามไชย

ผู้รับผิดชอบ
เจ้าอาวาสวัดสนามไชย

กิจกรรมที่ดำเนินการ
- เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง อายุประมาณ ๒๑๑ ปี
-จัดงานประเพณีตักบาตรพระร้อย



ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร



http://www.ayutthaya.org/attractions/ayutthaya_Bangsai02.html


ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่างๆ วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกรได้แก่ 

การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช 
การแกะสลัก 
การจักสาน 
การทำตุ๊กตา 
การทำดอกไม้ประดิษฐ์ 
การทำเครื่องเรือน 
การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี 
ช่างเชื่อมและเครื่องเคลือบดินเผา 
ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วจะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาทุกสาขาทั่วประเทศ 

ประวัติ 
     พ.ศ. 2523 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ฯ แห่งนี้ขึ้นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต. ช้างใหญ่ อ. บางไทร ในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรม พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ มุ่งฝึกงานช่างฝีมือแบบศิลปะไทยโบราณให้แก่เกษตรกรที่สนใจฝึกอาชีพเป็นรายได้พิเศษจากช่วงที่ว่างจากงานเกษตร โดยทางศูนย์ฯ มีผู้ชำนาญงานช่างแขนงต่าง ๆ มาฝึกสอน เมื่อสามารถผลิตงานได้แล้ว ศูนย์ฯ จะรับซื้อผลงานไปจำหน่าย เปิดอบรมศิลปาชีพรุ่นแรกเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2524 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเมื่อวันที่7 ธ.ค. 2527 
ปัจจุบันมีกว่า 20 แผนก เช่น แผนกตัดเย็บเสื้อผ้า แผนกทอผ้าลายตีนจก แผนกเครื่องเรือนไม้ เป็นต้น อบรมปีละสองรุ่น รุ่นละ 500 คน ใช้เวลาอบรม 6 เดือน โดยให้ที่พัก อาหาร สวัสดิการ และเบี้ยเลี้ยง ผลงานที่ผลิตได้นอกจากจะจำหน่ายที่ศูนย์ฯ แล้ว ยังส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาซึ่งมีสาขาทั่วประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย 

     นอกจากนี้ ภายในบริเวณศูนย์ฯ มีจุดเด่นอื่นๆอีก เช่น 

หมู่บ้านศิลปาชีพ 
     เปิดทุกวัน เวลา 08.30-17.00 น. มีพื้นที่กว้างขวางหลายสิบไร่ ภายในแบ่งเป็นหมู่บ้านไทยของแต่ละภาค โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่ นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมงานศิลปะหัตถกรรมของแต่ละภาคแล้ว ยังสามารถชมความงามของสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของแต่ละท้องถิ่นด้วย 

สวนนก 
     เปิดเวลา 09.00-19.00 น. ปิดวันจันทร์ 
- ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท เป็นกรงนกขนาดใหญ่สองกรง ภายในมีนกหายากกว่า 100 ชนิด เช่น นกชาปีไหน นกกาฮัง นกเงือกรามช้าง นกสาลิกาเขียว นกยูงไทย เป็นต้น ภายในกรงจัดสภาพแวดล้อมให้คล้ายคลึงธรรมชาติ เช่น สภาพป่า น้ำตก ธารน้ำ เป็นต้น มีระบบไฟล่อแมลงซึ่งเป็นอาหารของนก ในวันที่ร้อนจัดมีระบบฝนเทียมให้ความชุ่มชื้น ดำเนินการโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นักท่องเที่ยวที่เข้าไปชมไม่ควรให้อาหารสัตว์ หรือส่งเสียงดัง 

วังปลา 
     เปิดเวลา 10.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร มีตู้แสดงพันธุ์ปลาสองตู้ ตู้ใหญ่ขนาดความจุ 1,400 ตัน อีกตู้เป็นตู้ทรงกลมขนาด 600 ตัน มีปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด ทั้งปลาพื้นเมืองใกล้สูญพันธุ์ และปลาที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กระเบนราหู ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาบึก ปลากดดำ เป็นต้น ภายในอาคารยังมีภาพเขียนปลาไทยพร้อมคำบรรยาย 
ชมขั้นตอนการผลิตงาน 
     เปิดเวลา 09.00-14.30 น. เว้นวันจันทร์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมขั้นตอนการผลิตงานที่อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ซึ่งประกอบด้วยแผนกต่าง ๆแต่ห้ามส่งเสียงรบกวนสมาธิการทำงาน หรือจับต้องผลิตภัณฑ์ บางแผนกห้ามถ่ายภาพ 
ซื้อผลิตภัณฑ์ 
     วันธรรมดาเปิดเวลา 09.00-17.00 น. วันหยุดราชการเปิดเวลา 09.00-18.00 น. ผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ มีจำหน่ายที่ศาลาพระมิ่งขวัญ ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ทรงไทยประยุกต์ สูงสี่ชั้น มีผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องแก้ว เครื่องเซรามิก ผ้าทอ เครื่องจักสาน รวมไปถึงงานเครื่องไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น บนชั้นสองเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการงานฝีมือชิ้นเยี่ยม 
     พระตำหนัก ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยโบราณ มีใต้ถุนสูง แวดล้อมด้วยไม้ดอกไม้ประดับ และน้ำตกจำลอง บริเวณด้านหน้ามีประติมากรรมทองเหลืองซึ่งเป็นผลงานของศูนย์ฯ แห่งนี้ให้ชม 
     การเดินทางไปยังศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สามารถไปทางเรือตามลำน้ำเจ้าพระยาถึงท่าของศูนย์ฯ หรือไปทางรถยนต์ เมื่อถึงอำเภอบางปะอินแล้ว มีทางแยกซ้ายเข้าสู่สายบางไทร-สามโคก ระยะทาง 24 กิโลเมตร ถึงศูนย์ศิลปาชีพฯ หรือหากไปจากกรุงเทพฯ จะใช้เส้นทางสายนนทบุรี-ปทุมธานี (ทางหลวงหมายเลข 306) เลยแยกรังสิตไปไม่ไกลนัก จะมีทางแยกขวามือไปอำเภอบางไทร 
     ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรมีพื้นที่กว้างใหญ่นับพันไร่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นักท่องเที่ยวสามารถชมการสาธิตการผลิตสินค้าของศูนย์ศิลปาชีพ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ รวมทั้งยังมีสถานที่น่าสนใจ เช่น วังปลาน้ำจืด สวนนก เป็นต้น ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ทางศูนย์ฯ จัดงานลอยกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นงานใหญ่ประจำทุกปี ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วไป 
     วันจันทร์เป็นวันที่อาคารหลายแห่งของศูนย์ฯ ปิด จึงควรเลือกมาวันอื่น ๆ เพื่อจะได้ชมได้ทั่ว 

- เปิดเวลา 08.00-17.00 น. 
- มีรถไฟเล็กชมภายในศูนย์ฯ ไม่เสียค่าบริการ 
- มีร้านอาหาร 
- โทร. 0-3536-6252-4, 0-3528-3246-50



วัดท่าซุง


http://www.bangsai.go.th/index.php?op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=23701&id=10373


วัดท่าซุงทักษิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร .089-9264494
วัดท่าซุงทักษิณาราม เป็นวัดที่อยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ.2250 มีถาวรวัตถุที่เก่าแก่หลายรายการ เช่นเจดีย์หลังพระอุโบสถ พระสังกัจจาย อายุประมาณ 300 ปี พระพุทธสีหิงค์ อายุประมาณ 200 ปี พระทรงเครื่อง 80 องค์ อายุประมาณ 200 ปีศาลาการเปรียญ ศาลาไทยลายทองติดกระจกรอบศาลา หอสวดมนต์ไทยลายทองไม้สักทองทั้งหลัง  พระประธานในประอุโบสถชื่อหลวงพ่อเกสร อายุประมาณ 300 ปี ค้างคามแม่ไก่ประมาณ 20,000 ตัวและอื่นๆอีกมากมาย วัดท่าซุงฯ เป็นวัดที่อยู่ในโครงการอยุธยามหามงคล เพื่อฉลองในหลังครองราชย์ 60 พรรษา  หน้าวัดติดคลอง ตอนนี้มีกำลังก่อสร้างมหาพุธวิหารทิศใต้โบสถ์ กำลังจัดชาวบ้านที่อยุ่ในธรณีสงฆ์ให้เป็นสัดเป็นส่วน มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม เช่น สรงน้ำพระ ทรายน้ำไหล กลางเดือน 4 พิธีกวดข้างทิพย์มหามงคลกลางเดือน 4 พิธีกวดข้างทิพย์มหามงคลกลางเดือน 6 ตักบาตรพระร้อยรูปกลางเดือน 12 เป็นงานประจำปีของทุกปี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ มีศรัทธาต่อพระพุทธเป็นอันมาก ปลูกข้าวเป็นอาชีพ ตามกระแสพระราชดำรัสของในหลวงแบบพอเพีย






หลวงพ่อวัดน้อยศักดิ์สิทธิ์



หลวงพ่อวัดน้อย
เป็นพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดสิงห์สุทธาวาส หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านแป้ง อำเภอ
บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ปูนปั้นซึ่งไม่ปรากฏ
แน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เป็นพระประธานองค์ใหญ่สุดใน
พระวิหารและยังมีพระพุทธรูปร่วมอยู่บนแท่นสุกชี อีก ๙ องค์ รวมเป็น ๑๐ องค์ หลวงพ่อน้อย
หรือหลวงพ่อวัดน้อย นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพุทธกมล หลวงพ่อ
พิสดารโลก หลวงพ่อภิญญะลามะจักสุรัตนบวรสุวร ฯลฯ หลวงพ่อวัดน้อยนี้ เป็นวัดร้าง มีแต่
วิหารอยู่หลังเดียว ร้างมานานเท่าไรไม่มีใครทราบ ปัจจุบันได้ขออนุญาตสำนักงานพระพุทธ
ศาสนาแห่งชาติ รวมเป็นวัดเดียวกันกับวัดสิงห์สุทธาวาส เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
หลวงพ่อวัดน้อยเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้าน โดยเฉพาะ ในเขตอำเภอบางไทร จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา เคารพนับถือมาก มักจะมาบนบานสานกล่าวอยู่เสมอ และหากประสบความ
สำเร็จก็จะแก้บนด้วยไข่ต้มหรือละคร และหากบ้านใดจัดงานบวช ซึ่งก่อนที่จะนำนาคไปทำพิธี
ที่วัด มักจะแห่นาคมาสักการะหลวงพ่อน้อยทุกครั้ง จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อวัดน้อย หรือหลวงพ่อเจ้าน้อย สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า “เจ้าน้อย” ซึ่งในสมัย
รัชการที่ ๓ มีพระสงฆ์รูปนี้ซึ่งชอบปลีกวิเวก สงบ ได้มาบวชและจำพรรษาที่วัดนี้ จนกระทั่งได้
มรณะลง ชาวบ้านบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเจ้าน้อย หรือหลวงพ่อน้อย ตามชื่อ
พระสงฆ์ที่กล่าวมานี้


พระราชวังบางปะอิน



http://www.palaces.thai.net/day/index_bb.htm


พระราชวังบางปะอิน
ประวัติของพระราชวังบางปะอิน มีความเป็นมาตามบันทึก
ในพระราชพงศาวดาร ครั้ง กรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อพระเจ้าปราสาททอง ขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นมา ในปี พ.ศ. ๒๑๗๕ บนเกาะบางปะอิน ตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของมารดา พระราชทานชื่อว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” แล้วสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นริมสระน้ำนั้น พระราชทานนามว่า
“พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์” ขึ้นบนเกาะเลนหรือ เกาะบางนางอิน ในลำแม่น้ำเจ้าพระยาใช้ เป็นที่สำหรับเสด็จประพาส
พระราชวังแห่งนี้จึงเป็นที่ประพาส สำราญพระราชหฤทัยของ
พระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดมา ต่อมาจึงได้รับการฟื้นฟู ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทาน นามใหม่ว่า เกาะบางปะอิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก ขึ้น ๓ หลัง และปลูกพลับพลาโถง ที่ไร่แตงอีกหลังหนึ่ง เป็นที่ประทับระหว่าง เสด็จประพาสกรุงเก่า ในลำน้ำเจ้าพระยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงพิจารณา เห็นว่า พระตำหนักที่เกาะบางปะอิน มีความสมบูรณ์ ที่จะสร้างพระราชวัง สำหรับแปรพระราชฐาน จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นดังที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้



ตลาโก้งโค้งบ้านแสงโสม



ประวัติความเป็นมา


คำว่า ตลาดโก้งโค้ง เป็นคำที่ใช้เรียกตลาดในสมัยโบราณ ที่คนขายสินค้าจะนั่งขายสินค้าอยู่บนพื้นดิน 
ดังนั้นคนที่มาซื้อสินค้าจะต้องโก้งโค้ง เพื่อเลือกดูสินค้าที่ตนสนใจ โดยอากัปกิริยา โก้งโค้ง 
ของคนไทยนั้น ทำได้สุภาพ นุ่มนวล ไม่เหมือนใคร และไม่มีชนชาติใดทำได้เหมือน 
เพราะเป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นกิริยาสุภาพที่ต้องโน้มตัวลงไป 
ส่วนคนขายสินค้าก็นั่งกับพื้นแบบไม่ถือตัว จะเป็นภาพการซื้อขายสินค้าที่แสดงถึงความอ่อนโยน 
เต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานีของไทยมายาวนานถึง ๔๑๗ ปี 
ในอดีตที่แห่งนี้เคยมีสิ่งที่ดีงามอยู่มากมาย มีทั้งสิ่งก่อสร้าง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี 
และวิถีชีวิตของผู้คนที่เต็มไปด้วยน้ำใจไมตรี อยู่ด้วยกันอย่างสงบร่มเย็น รักกันเหมือนพี่เหมือนน้อง 
และตลาดโก้งโค้งที่กล่าวมาแล้ว ได้เคยอยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลานาน 
เป็นตลาดที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น มีน้ำใจ ไม่เบียดเบียนราคาสินค้า ไม่เอารัดเอาเปรียบ 
สินค้าที่นำมาจำหน่ายเป็นสินค้าที่ดี ทั้งด้านคุณภาพ รสชาติ และราคา เป็นสินค้าของชุมชน 
เป็นสินค้าที่ชาวบ้านทำขึ้นมาขายด้วยใจ ด้วยภูมิปัญญาดีๆของคนไทยที่มีมายาวนาน
ภาครัฐและภาคเอกชนของชาวพระนครศรีอยุธยามีความยินดีที่อยากให้เกิดบรรยากาศ 
ตลาดโบราณดังกล่าวขึ้น ได้ร่วมกันจัด ตลาดโก้งโค้ง ขึ้นที่บริเวณบ้านแสงโสม ตำบลขนอนหลวง 
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนี้ 
ในอดีตกาลเป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีในสมัยนั้น) 
และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด 
ทั้งที่เป็นสินค้าชุมชนและสินค้าที่มาจากต่างเมือง